กอ.รมน. ภาค4 ชี้แจง กรณี เจ๊นุช สิบตำรวจโทหญิง ที่มีคดีอาญา ซ้อมทำร้ายร่างกายอดีตทหารหญิง บรรจุมาช่วยราชการถูกต้องตามขั้นตอนทุกอย่าง แต่ภายหลังมีคดีต้องส่งตัวกลับ ตั้งแต่วันที่ 19 ส.ค.ที่ผ่านมา และมีคำสั่งยกเลิกบรรจุและเรียกคืนสิทธิกำลังพล
พล.ต.ปราโมทย์ พรหมอินทร์ รอง ผอ.รมน.ภาค 4 สน. ฆษก กอ.รมน.ภาค 4
ชี้แจงเมื่อวันที่ 2 ก.ย.65 กรณีที่ สิบตำรวจโทหญิง กรศศิร์ บัวแย้ม ได้รับการบรรจุช่วยราชการที่ กอ.รมน.ภาค 4 สน. ณ ที่ห้องประชาสัมพันธ์กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน. ภาค 4 สน.) ค่ายสิริธร ต.เขาตูม อ.ยะรัง จ.ปัตตานี
กรณีดังกล่าว ภายหลังการประชุมก่อนหน้าเมื่อวันที่ 1 ก.ย.ที่ผ่านมา ได้มีการนำเสนอผลการประชุมผ่านสื่อมวลชนในประเด็นที่คลาดเคลื่อนและไม่ตรงกับข้อเท็จจริงที่ กอ.รมน.ภาค 4 สน. ได้ชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการทหาร สร้างความสับสนให้เกิดขึ้นในสังคมอย่างกว้างขวาง
ดังนั้นเพื่อให้สังคมได้รับทราบข้อเท็จจริงที่ถูกต้องและไม่นำประเด็นดังกล่าวไปสื่อสารขยายผลแสวงประโยชน์ที่อาจสร้างความเสียหายมากยิ่งขึ้น โฆษก กอ.รมน.ภาค 4 จึงได้แถลงสรุปประเด็นสำคัญที่ได้ชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการไปแล้วเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกันอีกครั้ง
โดยจากที่ได้ชี้แจงทั้งหมดกล่าว สรุปคือ ส.ต.ท.(ญ)กรศศิร์ บัวแย้ม ได้บรรจุช่วยราชการที่ “กอ.รมน.ภาค 4 สน.” ถูกต้องตามขั้นตอนและผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติเรียบร้อยแล้ว จึงทำให้ได้รับสิทธิกำลังพลตามระเบียบที่ได้กำหนดไว้
“มิใช่ได้ตรวจสอบคุณสมบัติแล้วไม่ผ่าน แต่ยังได้รับค่าตอบแทน” สำหรับการสั่งยกเลิกบรรจุและเรียกคืนสิทธิกำลังพลที่ได้รับไปแล้วนั้นมีสาเหตุมาจากการถูกแจ้งข้อกล่าวหาในคดีอาญาซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ขัดกับระเบียบและหลักเกณฑ์ของ กอ.รมน.ภาค 4 สน.ซึ่งถือเป็นความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง “มิใช่เพราะถูกต้นสังกัดสั่งให้ออกจากราชการ”
จึงเห็นได้ว่าข้อเท็จจริงที่ได้ชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการทหารสภาผู้แทนราษฎร ไม่เป็นไปตามที่ได้มีการให้สัมภาษณ์และนำเสนอข่าวผ่านสื่อมวลชนแต่อย่างใด ทั้งนี้ กอ.รมน.ภาค 4 สน. ขอยืนยันว่าได้ชี้แจงและตอบข้อซักถามของคณะกรรมาธิการทหารได้ครบถ้วนในทุกประเด็นอย่างชัดแจ้งแล้ว
สำหรับรายละเอียดที่ถูกต้องนั้นจะปรากฏในบันทึกการประชุมของคณะกรรมาธิการทหาร สภาผู้แทนราษฎร โดยไม่มีใครที่จะสามารถแก้ไขหรือบิดเบือนได้อย่างแน่นอน อย่างไรก็ตาม กอ.รมน.ภาค 4 สน. พร้อมที่จะนำข้อสังเกตุและคำแนะนำที่เป็นประโยชน์ของคณะกรรมาธิการทหารสภาผู้แทนราษฎรในครั้งนี้ไปปรับปรุงแก้ไขแนวทางดำเนินการของหน่วยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป
ประวัติ พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ส.ส.ผู้ไม่กลัวใคร
ชวนรู้จัก ประวัติ พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อจากพรรคเสรีรวมไทย พร้อมเผยสาเหตุทำไมเสรีพิศุทธ์ถึงไม่กลัวใคร
อัปเดตประวัติล่าสุดของ พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ส.ส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย และอดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เดอะไทยเกอร์จึงขอเล่าประวัติของ พล.ต.อ. เสรีพิศุทธ์ว่ามีที่มาอย่างไร แล้วทำไมถึงไม่เคยกลัวใครเลย พร้อมชนทุกความไม่เป็นธรรมไม่ว่าอีกฝ่ายจะเส้นใหญ่หรือตำแหน่งใหญ่โตแค่ไหน
พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส เกิดเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2491 มีอายุ 74 ปี เดิมทีมีชื่อจริงว่า “เสรี” ทำให้ชาวไทยคุ้นหูและเรียกกันแบบติดปากต่อกันมาว่า “ท่านเสรี” หรือปัจจุบันหลายคนยกให้เป็น “ป๊าเสรี”
พล.ต.อ. เสรีพิศุทธ์ เตมียเวสแต่งงานกับภรรยา พัสวีศิริ เตมียวเวส มีลูกด้วยกันสามคน ได้แก่ นางสาวศศิภาพิมพ์, นายทรรศน์พนธ์ และนางสาวทัศนาวัลย์ ทั้งนี้นามสกุล เตมียเวส เป็นนามสกุลพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในหลวงรัชกาลที่ 6 พระราชไว้วันที่ 18 มี.ค. 2457
ประวัติการศึกษาของเสรีพิศุทธ์ อดีตนายตำรวจตงฉิน ด้านการศึกษาของ พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส จบการศึกษาจากโรงเรียนทวีธาภิเศก หลังจากนั้นก็เข้ารับการศึกษาต่อที่โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 8 (ตท.8) และโรงเรียนนายร้อยตำรวจสามพราน รุ่นที่ 24 (นรต.24)
การเข้ารับราชการตำรวจของท่านเสรี หลังจากที่ท่านเสรีพิศุทธ์ได้เรียนจบก็เข้ารับราชการที่อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม ระหว่างปี 2515 – 2524 ระหว่างปฏิบัติหน้าที่ก็ได้เข้าร่วมปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์จนได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี เหรียญรามมาลา เข็มกล้ากลางสมร และเหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1
ภายหลังผู้ว่าฯ นครพนมก็ได้ทำพิธีสถาปนาให้พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียเวสเป็นขุนพลของประชาชน เนื่องจากผลงานในการทำหน้าที่ป้องกันและปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ด้วยจิตใจที่กล้าแกร่งของท่านเสรี จนได้รับฉายา “วีรบุรุษนาแก” มาครอบครอง
Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป