ประวัติ “รศ.นพ. ฉันชาย สิทธิพันธุ์“ ขึ้นแท่น หมอที่แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี พี่น้องฝาแฝด “ชัชชาติ” ว่าที่ผู้ว่ากรุงเทพ แข็งแกร่งไม่แพ้กัน มีดีกรีถึงผอ.โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เรียกได้ว่านาทีนี้ คงไม่มีใครไม่รู้จักกับ ชายผู้แข็งแกร่งที่สุดในปฐพีอย่าง ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ที่เพิ่งชนะการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ไปอย่างสด ๆ ร้อน ๆ แต่รู้หรือไม่ว่าแท้จริงแล้วนั้น ชัชชาติ มีพี่ชายฝาแฝดอย่าง รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ ด้วยนะ และขึ้นชื่อว่าเป็นพี่ชายของคนที่แข็งแกร่งที่สุดแล้วนั้น ฉันชาย เองก็ได้พวงฉายา หมอที่แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี ด้วยเช่นกัน
รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ ประวัติ
รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ มีชื่อเล่นว่า ทัวร์ พี่ชายฝาแฝดของ ชัชชาติ เกิดเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2509 ปัจจุบันอายุ 56 ปี เป็นบุตรของ พล.ต.อ.เสน่ห์ สิทธิพันธุ์ อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ผบช.น.) กับนางจิตต์จรุง สิทธิพันธุ์ (สกุลเดิม กุลละวณิชย์) มีพี่สาว 1 คนคือ รศ.ดร.ปรีชญา สิทธิพันธุ์
หมอฉันชาย จบการศึกษาระดับมัธยม จากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และปริญญาตรีแพทยศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 2) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศึกษาต่อเฉพาะทางโรคปอดและทรวงอก ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา จากนั้นจึงกลับมาเป็นอาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปัจจุบันฉันชาย สิทธิพันธุ์ ดำรงตำแหน่งคณบดี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย (วาระ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2564 – 30 กันยายน พ.ศ. 2568) ด้วยความที่ ฉันชาย และชัชชาติ อยู่ในครอบครัวนักวิชาการ จึงถูกปลูกฝังให้อ่านหนังสือมาตลอดจนกระทั่งรักการอ่าน โดยทั้งคู่จะต้องนั่งหันหลังชนกัน อ่านหนังสือเป็นเวลา 2 ชั่วโมงหลังจากที่ทำการบ้านเสร็จ แต่ถึงแม้ว่าจะเป็นเด็กเรียนทั้งคู่ก็ไม่ทิ้งงานกิจกรรมของโรงเรียน โดยผลัดกันเป็นประธานสีกันคนละปี
ในช่วงมัธยมปลาย ฉันชาย และชัชชาติ ตัดสินใจปรึกษากันว่าจะไม่เรียนสาขาเดียวกัน เพราะจะแข่งกันเปล่า ๆ จึงตกลงกันว่าจะเลือกเรียนอะไร ชัชชาติเลือกเบนเข็มไปทางวิศวกรรม ส่วนตัวฉันชายเลือกเรียนคณะแพทยศาสตร์ ตั้งใจเรียนต่อเฉพาะทางด้านโรคปอดและทรวงอก จนกลายมาเป็นอาจารย์หมอที่ผู้คนนับถือมาจนปัจจุบัน
หากพูดถึงความแข็งแรงและความรักในการออกกำลังกาย รศ. นพ.ฉันชาย ก็ตื่นตีสี่มาวิ่งเช่นเดียวกันกับน้องชาย เพียงแต่เขาเลือกที่จะวิ่งในลู่วิ่งที่บ้าน (เพราะ เคยออกไปวิ่งสวนสาธารณะแล้วโดนทักผิดว่าเป็นชัชชาติบ่อย)
รศ.นพ.ฉันชาย เคยเปิดเผยว่า ตนเคยร่วมชุมนุม พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เพียง 1 ครั้ง ซึ่งแน่นอนว่าเป็นการแสดงออกทางการเมืองที่อยู่ ฝั่งตรงข้ามกับน้องชาย เนื่องจากคนเราสามารถมีความคิดเห็นไม่ตรงกันได้ ตนก็ไม่ได้อยู่ขั้วไหนอย่างสุดโต่ง และจะไม่ก้าวก่ายความคิดใคร พร้อมปล่อยให้น้องชายได้ทำประโยชน์กับประเทศดีกว่า
ครม. เห็นชอบจัดทำ เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
ครม. เห็นชอบให้มีการจัดทำ เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565
วันที่ 24 พ.ค. 2565 นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในโอกาส มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 พ.ศ. …. เพื่อ จัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 ใน 4 ลักษณะ ได้แก่
1) เหรียญกษาปณ์ทองคำ ชนิดราคา 20,000 บาท
2) เหรียญกษาปณ์เงิน ชนิดราคา 1,000 บาท
3) เหรียญกษาปณ์โลหะสีขาว (ทองแดงผสมนิกเกิล) ชนิดราคา 20 บาท ประเภทขัดเงา
4) เหรียญกษาปณ์โลหะสีขาว (ทองแดงผสมนิกเกิล) ชนิดราคา 20 บาท ประเภทธรรมดา
ซึ่ง กระทรวงการคลัง ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดทำ เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก ตามแบบ ที่ทูลเกล้าฯ ถวายแล้ว เพื่อเป็นที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา ในวันที่ 12 ส.ค. 65
Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป